The Father (2020)
เดอะ ฟาเธอร์
คะแนน
โกดังหนัง
ภาพที่ปรากฏออกมาก็สะเทือนใจสะเทือนอารมณ์มาก
เหนือสิ่งอื่นใดปู่ Anthony Hopkins คือคนสำคัญ
ที่ทำให้หนังเรื่องนี้สื่อสารออกมาได้ยอดเยี่ยมจริงๆ
หมวดหมู่ : | Drama |
สัญชาติ : | American |
กำกับโดย : | Florian Zeller |
ความยาว : | 1 ชั่วโมง 37 นาที |
นักแสดงนำ : | Anthony Hopkins, Olivia Colman |
คำคมจากภาพยนตร์
"I feel as if i'm losing all my leaves the branches and the wind and the rain I don't know what's happening anymore." “ฉันรู้สึกราวกับว่าใบไม้ของฉันร่วงหล่น กิ่งไม้ ลม และฝน ฉันไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นอีกแล้ว”
เรื่องย่อ
แอนโธนี ชายสูงวัยอายุย่าง 80 และหยิบจับอะไรไม่ถนัด แอนน์ ลูกสาวที่ห่วงพ่อมากกว่าอะไรทั้งหมดจึงตัดสินใจจ้างคนมาดูแล แต่นั่นกลับไม่ใช่สิ่งที่ผู้เป็นพ่อต้องการ เขายืนยันหัวชนฝาว่าตนเองยังไหว และสามารถจัดการชีวิตอันเปลี่ยวเหงาในแฟลตส่วนตัวอันกว้างขวางได้เหมือนที่เคยเป็นมา แต่ความชรานั้นไม่ปรานี มันค่อยๆ เข้ามารุกคืบแอนโธนีทีละน้อย ร้ายแรงที่สุดคือความทรงจำ ที่คล้ายจะสับสน ปนเป และแยกแยะไม่ได้ว่าสิ่งไหนคือความจริง สิ่งไหนคือความฟั่นเฟือน เมื่อถึงจุดที่ยึดถืออะไรรอบกายไม่ได้อีก แอนโธนีจึงย้อนกลับมาตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของตนเอง พร้อมๆ กันนั้น แอนน์ก็ต้องทำใจยอมรับว่า พ่อกำลังจะจากเธอไปแล้ว แม้ร่างกายของพ่อจะยังนั่งอยู่ข้างๆ เธอก็ตาม
หนังเรื่องนี้เหมาะกับใคร
สำหรับ The Father เป็นหนังที่ส่งให้ Anthony Hopkins ปาดหน้า Chadwick Boseman คว้านำชายยอดเยี่ยมจากออสการ์ปีล่าสุด บทหนังดัดแปลงมาจากละครเวทีของฝรั่งเศส หนังเหมาะกับคนที่หลงลืมความสัมพันธ์พ่อลูกไม่ว่าจะร้ายดีเจ็บไข้ได้ป่วยยังไง เราไม่ควรไปทอดทิ้งเขาเด็ดขาด บุญคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเรามายังไงก็ชดใช้ไม่ได้หมด เนื้อหาเศร้าและสะเทือนอารมณ์ทำให้เราเข้าใจถึงคนที่ดูแลคนป่วยเป็นอัลไซเมอร์มันยากลำบากแค่ไหน เมื่อดูจบเราจะได้เรียนรู้ที่จะรับมือความชราของพ่อแม่ตัวเองไม่วันใดก็วันหนึ่ง เนื้อหายอมเยี่ยมมากจริงๆ
- สายหนังดราม่า
- สายหนังรางวัล
- สายหนังที่ชอบความสัมพันธ์ในครอบครัว
รีวิว / สรุปเนื้อหา
หนังเลือกจะเล่าเรื่องผ่านตัวละครหลักที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อมของคนสูงวัยที่ไม่มีวันรักษาหายขาดมาเป็นตัวกำหนดทิศทางของหนัง เราจึงได้เห็นมุมมองคนสูงวัยที่หวาดกลัว หลงๆลืมๆ ทำอะไรตามใจชอบ เพราะเขาไม่สามารถจดจำในสิ่งต่างๆได้ มันจึงทำให้เขาหลายๆซีนกลายเป็นโลก 2 ใบ มีตัวละครที่เพิ่มเข้ามา เจอทั้งพยาบาล สามีลูกสาว เหมือนเป็นภาพจำลองให้เห็นมุมมองความรู้สึกคนที่ต้องอยู่กับคนเป็นอัลไซเมอร์ที่ดูแล้วเบื่อหงุดหงิดตามภาพที่ปรากฏได้ทั่วไป
นอกจากนี้หนังยังเปิดโอกาสให้เราได้เห็นมุมมองของตัวละครลูกสาวที่ต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกเจ็บปวดจากพ่อตัวเอง นอกจากจะความจำเสื่อมแล้ว เธอยังต้องเสียใจที่พ่อนึกถึงแต่น้องสาวอีกคน แถมยังต้องมาปวดหัวกับสามีที่ส่งเสริมให้ส่งพ่อไปบ้านพักคนชราอีก เหมือนเป็นภาพที่ส่งกลับมายังสังคมยุคปัจจุบันที่เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจนกลายเป็นภาพที่เห็นจนชินตา
.
สิ่งที่หนังมันน่าดูคือการแสดงของปู่ Anthony Hopkins ที่สะกดผู้ชมอยู่หมัด ที่เล่นบทผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ละเอียดจนอยากกราบแทบเท้า การประชันอารมณ์ในบทบาทที่แสดงกับนักแสดงคนอื่นๆต่างหาก ที่มัน The best เลย บทหนังมีความแข็งแรงตามเนื้อหาทั้งหมด ไม่แปลกใจเลยที่ปู่แกได้ออสการ์นำชายยอดเยี่ยมจากหนังเรื่องนี้พลิกโผจากที่คาดการณ์ของสื่อไปเลย
เกร็ดจากหนังเรื่องนี้
- หนังเข้าชิง 6 รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93
- Anthony Hopkins กลายเป็นนักแสดงที่อายุมากสุดคว้านำชายยอดเยี่ยม
- เดิมทีบทหนังเป็นละครเวทีของสัญชาติฝรั่งเศสชื่อ Le Père