Blue Again (2022)

บลู อะเกนส์

Blue Again Poster
8.5/10

คะแนน
โกดังหนัง

นี่คือหนังไทยที่นำเสนอได้น่าสนใจชำแหละความเลวร้ายสังคมระบบมหาลัยแบบไทย นักแสดงนำช่วยขับเคลื่อนเรื่องราวได้ทรงพลังมาก

หมวดหมู่ : Drama
สัญชาติ : Thai
กำกับโดย : Thapanee Loosuwan
ความยาว : 3 ชั่วโมง 10 นาที
นักแสดงนำ : Tawan Jariyapornrung, Asamaporn Samakphan, Sarunmes Rattanapong

คำคมจากภาพยนตร์

"ก็เพราะเมิงเอาแต่ใจแบบนี้ไง ใครเขาจะไปคบเมิง"

เรื่องย่อ

เอ หญิงสาวลูกครึ่งอีสาน-ตะวันตก ดิ้นรนเข้ามาเรียนออกแบบ แฟชั่นในกรุงเทพฯ โดยหวังว่าจะสามารถชุบชีวิตโรงย้อมครามของครอบครัวที่กำลังจะตาย แพร เพื่อนสนิทคน แรกในมหาวิทยาลัยถูกดึงดูดเข้ามาอยู่ในวงโคจรของเธอด้วยต้นทุนทางสังคมและความฝันที่คล้ายกัน ในขณะที่ เอพยายามปกป้องความฝันของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับถักทอความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเอาไว้ แต่เหมือนเส้นด้าย กลับจะขาดลง ‘สุเมธ’ เพื่อนรักคนเดียวในวัยเด็กผู้เป็นเซฟโซน ก็ได้กลับมาในวงโคจรของเธออีกครั้งในค่ำคืนวัน คริสต์มาสตามสัญญา แต่มันยิ่งกลับทำให้เอตั้งคำถามกับตัวเองว่า บนโลกนี้…ที่ตรงไหนคือที่ของเธอจริงๆ

หนังเรื่องนี้เหมาะกับใคร

สำหรับ Blue Again เป็นหนังไทยที่มาแบบเหนือความคาดหมาย ไม่ได้หวือหวา แต่กล้าพูดเรื่องประเด็นความสัมพันธ์ของเพื่อนการใช้ชีวิตในรั้วมหาลัย มันจะเป็นสังคมกลุ่มเพื่อนแบบที่เราคิดว่าเป็นมิตรแท้รักเพื่อนกันจริงหรือเปล่า หนังเหมาะกับกลุ่มคนที่ชอบวิพากย์วิจารณ์สังคมไทยที่ดูเหมือนไม่ได้เปิดกว้าง บางคนจำยอมบางคนต้องทนกับสภาพสังคมชีวิตมหาลัยที่ย่ำแย่ที่เอาความว่าระบบส่วนร่วมมากลั่นแกล้งอวดอ้างกัน Message หนังสื่อสารออกมาได้คมกริบ เรื่องราวมันคงไปกระทบหรือตรงกับเด็กหนุ่มยุคนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเจนไหน มันกระทบและทำให้เราได้นึกคิดแน่ๆ

  • สายหนังดราม่า
  • สายหนังที่ชอบความจริงในสังคม
  • สายหนังไทย

รีวิว / สรุปเนื้อหา

ความรู้สึกก่อนดูหนังกับหลังหนังจบมันคนละเรื่องกันเลย ตอนแรกคิดว่าหนังอะไรยาวนาน 3 ชั่วโมงแบบนี้ แต่พอดูจบแล้วเข้าใจละทำไมเนื้อหาถึงออกมาเป็นแบบนี้ เพราะเนื้อหาพาคนดูไปสำรวจชีวิตของเด็กสาวคนหนึ่งที่ หอบหิ้วความหวังจากต่างจังหวัดมาเรียนมาหาความรู้เพื่อกลับบ้านไปสานต่อกิจการให้ที่บ้าน หนังพาเราไปพบเจอความหวัง ความฝัน ของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ได้รู้จักกรุงเทพ เธอคือหญิงสาวแปลกหน้า มีชุดความคิดในแบบที่ตัวเองคิด ไม่ได้สนใจอะไรมากมายกับสังคมเมืองกรุง มองดูหนังมีความคล้ายๆกับ Last Night In Soho ของผู้กำกับ Edgar Wright ที่ตัวละครเป็นเด็กสาวต่างจังหวัดมาเรียนแฟชั่นในเมืองหลวง แต่เรื่องนั้นดาร์คกว่านั้น ตัวละครหลักเธอไม่ได้สนใจอกสนใจประเด็นอื่นนอกจากมาเรียนแล้วจบกลับหอ แต่สังคมชีวิตเมืองกรุงโดยเฉพาะมหาลัยโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงต้องเข้าหาสังคม อยากได้เพื่อนฝูง มองดูย่อมๆเหมือนจะไม่ได้มีอะไร แต่นางไม่ได้สนใจ เอาแค่รับน้องเธอเลือกจะปฏิเสธที่จะเล่นกิจกรรม มันจำเป็นขนาดนั้นเลยหรอที่ต้องไปรับน้องในระบบ Sotus โดนรุ่นพี่เอากฏมาอ้างโน่นอ้างนี่ รับผิดชอบร่วมกัน รุ่นพี่มาก่อนเสมอ รุ่นพี่ถูกทุกอย่าง ใครทำผิดกฏโดนลงโทษ ที่หนักข้อคือทำไมเธอต้องมาตั้งคำถามว่าเราต้องมาทนอะไรแบบนี้

นอกจากนี้เมื่อมองดูดีๆ เราจะพบว่าสังคมมหาลัยแบบไทยๆนี่แหละมันอันตรายน่ากลัวและโหดร้าย เกิดคนใดคนหนึ่งไม่เอาสังคมไม่เอารุ่น คนนั้นจะโดนมองว่าเป็นคนแปลก โดนมองว่าเป็นคนไม่ดี ทั้งทีความจริงก็ไม่ได้ไปทำร้ายใครให้ถึงขั้นตาย แต่โดนคว่ำบาตรโดนตัดสินว่าไอ้คนนี่ไม่ดี ทั้งที่บางคนไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้มีพันธะอะไรเลย แต่ถ้าไปยุ่งก็จะโดนไปด้วย ส่วนตัวค่อนข้างชอบพาร์ทมหาลัยที่เอ้ เผชิญหน้าอยู่ ถ้าเราไม่เอาสังคมเรามาเรียนแล้วจบกันไปมันไม่ได้จริงๆ หรอ ทำไมคนชอบแอบอ้างอวดเพื่อเอารุ่นกันด้วย การที่เรามีเพื่อนมีมิตรแท้แค่คนเดียวมันไม่ได้จริงหรอ พอได้ดูแล้วมันกระทบชิ่งไปยังระบบมหาลัยไทยแทบทุกที่ สังคมที่แปลกปลอม ยิ่งการใช้พื้นที่มหาลัยทำให้เราเห็นภาพเลยว่านี่ไม่ต่างอะไรจากระบอบเผด็จการชัดๆ เราแค่อยากได้สังคมเพื่อไม่อยากให้ตัวเองรู้สึกโดดเดี่ยวแปลกแยก ต้องเกาะกลุ่มเอาไว้เพื่อกอดผลประโยชน์เพราะทุกคนอยากได้ Connect เพื่อต่อยอดไปสู่อาชีพหน้าที่การงานที่ดี จนกลายเป็นว่าบางคนพร้อมจะทอดทิ้งกันเพื่อเอาตัวรอด ซึ่งมันผิดแปลกจากตอนรับน้องที่ปากบอกรักกัน แต่พอมีปัญหาคนนี่ไม่เอาไม่ชอบเกลียดอิจฉากันต้องเลิกคบคนนี้ไม่แปลกใจว่าทำไมสังคมผู้หญิงในรั้วมหาลัยถึงหน้ากลัวแบบนี้ ชื่นชมที่ผู้กำกับกล้าจะพูดในสิ่งนี้ออกมาอาจไม่ได้มหัศจรรย์ แต่กล้าตีแสกหน้าสังคมมหาลัยไทยได้แบบเจ็บแสบ มันไม่ได้ผิดอะไรถ้าหากเราจะแปลกแยกออกจากกลุ่มเพราะเราไม่ชอบและไม่ได้รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับคนในคณะ ในเมื่อเรามีชีวิตไม่ได้เบียดเบียนใครการก้าวเดินออกมาคงดีที่สุด

หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องโดยไม่มีช่องโหว่ไม่มีจุดไหนน่าเบื่อ ผู้กำกับสามารถใช้พื้นที่กรอบเวลา 3 ชั่วโมง พาไปสำรวจทำความรู้จักตัวละคร การเป็นนักเรียนทุนเพื่อแบ่งเบาภาระคนที่บ้าน การที่เธอต้องต่อสู้ใช้ชีวิตแบบโดดเด่นในสังคมเมือง ไม่ขอมีความสัมพันธ์ที่ดีกับใคร หรือการพาไปสำรวจชีวิตที่บ้านเกิดที่สกลนคร หญิงสาวที่ต้องมารับกิจการที่บ้าน ในขณะที่แม่เธออยากเลิกและย้ายหนีออกจากประเทศนี้ไปซะ นางเอกต้องแบกรับปัญหามากมายสาระพัด จนเราได้เห็นความสัมพันธ์ของเพื่อนสนิทนางเอกที่สกลนคร ที่ฝ่ายชายอยากไปบวชให้ย่า แต่ครอบครัวตัวเองนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งตัวละคร 2 คนนี้ก็สนิทกันเพราะต่างฝ่ายคือคนแปลกแยกในสังคมที่พวกเขากำลังพบเจอ การเจอกันมันเลยเป็นการเยียวยาอารมณ์ความรู้สึก และการที่หนังไม่มีนักแสดงที่ดังมาเล่น แต่ 3 นักแสดงนำ ตะวัน จริยาพรรุ่ง, ศรัณย์เมศ รัตนพงษ์ อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ ทำให้ภาพของหนังดูจริงใจการสื่ออารมณ์พาเราไปสำรวจชีวิตคนวัยรุ่นไทยได้อย่างมีมิติ และมันทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจว่าจริงๆแล้ว ชีวิตคนไม่ได้ต้องการมาโอ้อวดเพื่อนฝูงเยอะแยะ เราแค่อยากมีเพื่อนน้อยๆที่มีคุณภาพ แค่นี้ชีวิตเราก็พอใจแล้ว

เกร็ดจากหนังเรื่องนี้

  • นี่คือหนังที่ใช้เวลาทำนาน 8 ปี
  • จุดเริ่มต้นมาจากโปรเจ็คจบของผู้กำกับสมัยเรียนมหาวิทยาลัยที่ศิลปากร
  • หนังต้นฉบับมีความยาว 5 ชั่วโมง