4 Kings (2021)
อาชีวะยุค 90
คะแนน
โกดังหนัง
บทหนังกลั่นกรองมาอย่างดี เข้าใจหัวอกความเจ็บปวดเด็กช่าง เด็กอาชีวะ เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง ไหลลื่นมาก นักแสดงเล่นได้ไม่น่าหงุดหงิดใจ
คำคมจากภาพยนตร์
"ถึงพวกผมไม่มีอนาคต แต่พวกผมก็มีหัวใจนะโว้ย"
เรื่องย่อ
เรื่องราวอุทาหรณ์สะท้อนปัญหาสังคม ของกลุ่มนักเรียนสถาบันอาชีวะในยุค 90 ที่มักโดนมองว่าเป็นผู้ร้ายในสายตาคนอื่นเพียงเพราะว่าทะเลาะวิวาทตีกัน หนังสะท้อนปัญหาของสังคมไทยและพาผู้ชมไปหาคำตอบว่าเหตุผลอะไรทำให้พวกเขาถึงตีกันเพื่อสถาบัน
หนังเรื่องนี้เหมาะกับใคร
สำหรับ 4 Kings อาชีวะยุค 90 คือหนังไทยที่มีกลิ่นอายฟิล์มนัวร์เนื้อหาที่ดาร์คเจ็บปวดเข้าใจหัวอกตัวละครเด็กช่าง กลุ่มคนที่บุคลิกเลวร้ายในสายตาคนอื่นเวลาตีกัน กลุ่มคนชายขอบที่โดนมองข้ามจากสังคมมาโดยตลอด เนื้อหาเจาะลึกเข้าไปยังความรู้สึกพวกเขาที่มีปมในใจไม่ต่างจากคนทั่วไป พล็อตเรื่องทำให้คนทั่วไปเข้าใจเด็กอาชีวะมากขึ้นทำไมถึงซ่า ทำไมถึงตีกัน วัฒนธรรมต่างๆที่ใครต่อใครไม่เคยรู้ จึงๆแล้วปัญหามาจากครอบครัวที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวิต หนังจึงเหมาะกับคนกับคนที่ชอบเนื้อหาเส้นตรงอะไรใหม่ คนที่ชอบประเด็นดราม่าที่เป็นความจริงที่จับต้องได้ เนื้อหาตอกย้ำว่าชีวิตคนเราไม่ควรให้ค่าศักดิ์ศรีจอมปลอมมากเกินไป มันคือหนังไทยที่มีกลิ่นอายยุค 90 ที่หายห่างไปจากตลาดหนังบ้านเรามานานแล้ว
- สายหนังไทย
- สายหนังที่ชอบความดราม่าในสังคมไทย
รีวิว / สรุปเนื้อหา
ตอนแรกๆเราเคยสงสัยทำไมเด็กช่างต้องฟัดกัน แทงกัน สู้กันเพื่อสถาบันทำไมวะ เราเคยต้องคำถามกับเรื่องแบบนี้ เราพบเจอหน้าข่าวตามหนังสือพิมพ์ช่วงยุค 90 ประจำก็ได้ตั้งคำถามสงสัย เพราะอะไรเรียนต่างสถาบันไม่เคยมีปัญหามาก่อน แต่ทำไมเด็กช่างเหล่านี้ถึงทะเลาะวิวาทกันหนำซ้ำเด็กช่างเหล่านี้มักจะตีกันในงานเวทีคอนเสิร์ตซัดกันไม่แคร์คนรอบข้าง ตีกันไม่พอแถมยังกลายเป็นผู้ร้ายคนร้ายในสายตาผู้อื่นอีก แพะรับบาป กลายเป็นปัญหาสังคม เพียงเพราะว่าตีกันแทงกัน เมื่อหนังหยิบเหตุการณ์ช่างกลตีกันในยุค 90 หนังเลยจำลองภาพปัญหาชีวิตวัยรุ่นไทยยุคก่อน เด็กช่างกลายเป็นคนร้ายทันทีมองว่าเลว จึงๆแล้วพวกเขาแค่แสดงออกเพราะอุดมการณ์ การยุยงจากเพื่อนสถาบันเท่านั้น แค่โชคไม่ดีคนกลุ่มนี้มีแวดล้อมที่นำพาไปไม่ดี พวกเขามีชีวิตแบบไม่สวยหรูเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว จึงเต็มไปด้วยอบายมุข เหล้าเบียร์บุหรี่ เราได้เห็นแง่มุมเด็กช่างที่ไม่ได้แค่ตีกันในหนังเรื่องนี้ พวกเขาเองมีปัญหาไม่ต่างจากคนทั่วไปคนไม่มีพื้นที่ให้คนอื่นรับรู้ จากครอบครัว
หนังเล่าเรื่องได้อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ พอได้ผู้กำกับที่เป็นคนอาชีวะจริงๆ ทำให้ภาพหนังไม่ได้ทำให้เด็ฏอาชีวะเป็นผู้ร้ายแต่เราในอีกมุมหนึ่งเข้าใจหัวอกเด็กช่างที่ตลอดชีวิตที่ผานมาดูเป็นคนร้ายมาโดยตลอด หนังสื่อสารให้เห็นว่าทุกสังคมมีการแย่งชิงฆ่าฟันด้วยกันทั้งนั้น เด็กช่างฟันกันไม่ทราบสาเหตุเพราะสีเสื้อสถาบัน แต่คนอื่นฆ่าแกงกันเพราะอยากชิงดีชิงเด่นอยากเป็นใหญ่ โลกใบนี้มันก็เหมือนๆกัน ทุกที่มีปัญหาไม่ต่างกัน แค่แตกต่างรูปแบบกัน แต่คนชอบเหมารวมว่าตีกันแบบเด็กช่างดูเลวดูแย่ หนังเองก็สะท้อนแง่มุมเด็กช่างเยอะพอสมควร คนส่วนใหญ่มองว่าเด็กเหล่านี้จ้องจะตีกันอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วพวกเขาก็เป็นคนมีความคิดมีความรู้สึก ตีกันซัดกันเพื่ออุดมการณ์ตัวเองเพื่อเพื่อนเพื่อสถาบัน พอถอดสีเสื้อสถาบันพวกเขาก็แค่คนธรรมดาคนหนึ่ง บทหนังเล่าเรื่องเป็นเส้นตรงไม่ได้มีความแปลกใหม่แต่ได้พลังงานจากนักแสดงแต่ละคนฉายแววได้โดดเด่น ส่งอารมณ์ส่งบททำให้เรื่องราวดราม่าที่ดูสนุกดี เข้าใจเด็กช่างมากขึ้น หนังมีเหตุมีผลพอควร เราได้เห็นเด็กช่างกันเองที่ไม่ทำร้ายกันถ้าหากมากับผู้หญิงหรือคนรักหรือวิธีสงบศึกชั่วคราวทที่เราเห็นแล้วก็ยังตกใจเลย
มาพูดถึงนักแสดงกันบ้างคนที่เราชอบมากที่สุดกลับเป็น รูแปง หรือ ภูมิ รังษีธนานนท์ นักเรียนอาชีวะที่พูดมาก มาดกวน ไว้หนวด เฮฮาตามประสาเพื่อน เรารู้สึกหมอนี่ฝีมือการแสดงเหลือล้นมาก ออร่ามาเต็มในบทเด็กช่าง เห็นแล้วเข้าใจเลยว่าคนสไตล์บวกๆกวนๆแบบนี้ ในสังคมวัยเรียนมันต้องมีจริงๆ คือเห็นแล้วน่าหมั้นไส้ แต่กลับเป็นตัวละครที่ชื่นชมมาก ส่วนพี่เป้ อารักษ์ ในบทนำ คนนี้เด่นมากค้าบ เด่นมากจริงๆ เราได้เห็นพลังการแสดงของพี่เขา ชายหนุ่มรักเพื่อนรักสถาบันรักแฟนให้ใจเต็มร้อย ส่วนจ่าย ไททศมิตร นักร้องขวัญใจวัยรุ่นยุคนี้ พอบอกว่ามาเต็มร้อยเล่นเกินค่าตัว บทดราม่าบทบู๊ฟาดฟันเขาไปได้สุดทางมาก ส่วนหนึ่งเพราะว่าจ๋ายเองมีความสามารถด้านการแสดงติดตัวมาจากสมัยละครเวทีทำให้เขาได้ปล่อยของที่แท้จริงออกมาเต็มที่ ส่วนพี่โจ๊ก พี่เขาแจ้งเกิดมากับการเล่นหนัง เรื่องนี้มาด้วยลุคนักเลงจริง สายตาแววตาท่าทางมาด้วยความดุดันบวกลูกเดียวชอบพี่เขามากค้าบ บอกเลยว่าคนนี้ไม่เคยทำให้คนดูผิดหวัง ส่วน บิ๊ก D Gerrard นี่คือโจ๊กเกอร์ประจำเรื่องมาแต่ละป่วนซะได้เมามันส์ แม้ว่าหนังจะมีช่องโหวา แต่นักแสดงเหล่านี้ช่วยผลักดันให้หนังไปได้ดีมาก
เกร็ดจากหนังเรื่องนี้
- แหลม 25 Hours รับเล่นหนังเรื่องนี้เพราะผู้กำกับมาหาที่บ้าน
- ผู้กำกับใช้เวลานานเกือบ 8 ปีกว่าจะได้สร้างโอกาสทำหนังใหญ่
- หนังสั้น 15 นาที มีต้นทุน 5 หมื่นบาท
- ยอดวิวหนังสั้นพุ่งสูงถึง 9 ล้านวิว
- ตอนผู้กำกับปล่อยหนังสั้น 15 นาที หวังแค่ยอดวิวและเงินจากยูทูปเท่านั้น
- บิ๊ก D Gerrard คือนักแสดงคนเดียวที่มาขอแคสติ้ง และบุคลิกของเขาก็สร้างความประทับใจให้ผู้กำกับเมื่อได้เจอตัวจริง