The Breadwinner (2017)

ปาร์วานา ผู้กล้าหาญ

The Breadwinner Poster
8.5/10

คะแนน
โกดังหนัง

แอนิเมชั่นน้ำดีที่ควรค่าแก่การดู สะท้อนความจริงความโหดร้ายในอัฟกานิสถาน จำลองภาพความจริงมาสู่แผ่นฟิล์มที่มีลายเส้นที่งดงาม ดูง่าย รู้เรื่อง และด้วยใจเป็นกลาง

หมวดหมู่ : Animation
สัญชาติ : Irish
กำกับโดย : Nora Twomey
ความยาว : 1 ชั่วโมง 34 นาที
นักแสดงนำ : Laara Sadiq, Saara Chaudry, Golshifteh Farahani

คำคมจากภาพยนตร์

You wasted my time, teaching me things of no worth, I have joined the Taliban and now I fight the enemis of Isam. “แกสอนเรื่องไม่มีประโยชน์ ตอนนี้ข้าเป็นตาลีบัน ต่อสู้กับศัตรูของอิสลาม"

เรื่องย่อ

เรื่องราวอันกล้าหาญของปาร์วานา เด็กหญิงวัย 11 ปี ผู้อาศัยอยู่ในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ช่วงถูกยึดครองโดยกลุ่มตาลีบัน เหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น เมื่อพ่อของเธอถูกกลุ่มตาลีบันจับกุมอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้คนในครอบครัวที่เหลืออันประกอบด้วยปาร์วานา แม่ พี่สาว และน้องชายวัยทารก ต้องดิ้นรนหาทางเอาชีวิตรอด เหตุการณ์บีบคั้นยิ่งขึ้นด้วยกฎที่ห้ามผู้หญิงออกจากบ้านหากปราศจากญาติผู้ชาย ทำให้ครอบครัวของปาร์วานาไม่สามารถหาเลี้ยงปากท้องเองได้ เธอจึงตัดสินใจตัดผมสั้นเพื่อปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อหาเงินมาดูแลครอบครัว และออกเดินทางช่วยพ่อก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

หนังเรื่องนี้เหมาะกับใคร

สำหรับ The Breadwinner เป็นหนังแอนิเมชั่นที่เหมาะกับคนที่ชอบประเด็นอัฟกานิสถาน ที่ทั่วโลกกำลังจับตามองสถานการณ์ตรงนี้อยู่ เนื้อหาจำลองภาพความจริงที่ประเทศวุ่นวายมีสงครามกลางเมืองและถูกปกครองโดยตาลีบัน หนังทำให้เราเข้าใจถึงความไม่เท่าเทียมในสังคมที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียงอะไรเลย โดนรังแกโดนกดขี่ทุกรูปแบบ ทำให้เราเข้าใจว่าทำไมประเทศนี้ถึงยากที่จะมีความสงบสุข หากใจไม่แข็งพอไม่แนะนำให้ดูหนังเรื่องนี้เพราะแม้จะเป็นการ์ตูน งานภาพสวยงามมาก แต่บรรยากาศดูสิ้นหวังมากจริงๆ

  • สายหนังแอนิเมชั่น
  • สายหนังที่ชอบประเด็นทางการเมือง
  • สายหนังที่ชอบศึกษาเรื่องต่างประเทศ
  • สายหนังที่สนใจเรื่องราวมุสลิม

รีวิว / สรุปเนื้อหา

หากดูข่าวอัฟกานิสถานแล้วรู้สึกหดหู่สงสารประชาชนในประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุดในโลกแล้วละก็ แอนิเมชั่นเรื่องนี้เหมือนจำลองภาพความจริงมาสู่แผ่นฟิล์มที่มีลายเส้นที่งดงาม ดูง่าย รู้เรื่อง และด้วยใจเป็นกลางเรารู้สึกว่าสังคมมุสลิมบางประเทศ ความเท่าเทียมความเหลื่อมล้ำยังคงมีอยู่ เมืองคาบูล ยุคสมัยที่ถูกปกครองโดยตาลีบัน ทำให้ชีวิตผู้คนอยู่แบบแร้นแค้นยากลำบาก การจำกัดสิทธิ์โดยข้อความต่างๆนานาๆทำให้เกิดความเผด็จการและความชายเป็นใหญ่ รังแกคนที่อ่อนแอกว่าเพราะถูกปลูกฝังสั่งสอนมาแบบผิดๆว่า ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอดูแข็งแกร่งดูเท่ห์ อัฟกานิสถาน เต็มไปด้วยไฟสงครามมาช้านาน จากโซเวียด และโลกมุสลิมบางประเทศไม่ผิดแปลกที่ผู้หญิงจะโดนดูถูกทำร้ายร่างกายเหยียดหยามแบบนั้น

เนื้อหาจึงอยู่ในช่วงยุคก่อนปี 2001 ภาพของหนังค่อนข้างชัดเจนถึงความโหดร้ายยิ่งกว่าคำบอกเล่าจากคอนเทนต์ดังๆหรือภาพข่าวที่เราได้เห็นเสียอีก ผู้ชายอัฟกานิสถานถูกปรับความคิดแบบตาลีบันเพราะอย่างนี้ทำให้แวดล้อมเลยหดหู่สิ้นหวัง เรานึกภาพไม่ออกเลยจริงๆว่าประเทศนี้จะเห็นแสงสว่างเมื่อไหร่ เพระทหารตาลีบันเป็นประเภทใครไม่พอใจจะบุกไปทำร้ายจับกุมยัดคดีเพื่อเล่นงานถึงบ้าน ตัวละครเอกพบความยากลำบาก เมื่อเธอเป็นหญิงทำอะไรไม่ได้เลย คนในครอบครัวไม่มีข้าวกินไม่มีน้ำ เธอก็ต้องต่อสู้ดิ้นรน ไม่แปบกใจเลยที่ต้องปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชายเพื่อไปซื้อของทำงานแลกเงินเพื่อนำมาจุนเจือที่บ้านให้อยู่รอด ทางที่จะอยู่รอดอีกทาง 1 คือนางเอกต้องแต่งงานเพื่อที่ผู้ชายใหม่จะได้เข้ามาทำหน้าหัวหน้าครอบครัว แต่ดูเหมือนนว่า ปาร์วานา ไม่ได้สนใจ เขาแค่แค่ว่าช่วยเหลือพ่อตัวเองออกมาให้ได้เท่านั้นก็พอ แม้ว่าแวดล้อมจะเสี่ยงทั้งการถูกจับได้ว่าเป็นเด็กผู้หญิงหรือไฟสงครามข้างนอกที่รออยู่

สิ่งที่หนังการ์ตูนเรื่องนี้สื่อสารออกมาคือความโกลาหลของอัฟกานิสถาน ความบ้าคลั่งของผู้ชายที่กดขี่ข่มเหงต่อคนในชาติที่พูดภาษาเดียวกันเอง โลกความจริงมันโหดร้ายมาก แถมเด็กผู้ชายหรือคนในชาติที่ดูอันธพาลปากเก่งทำร้ายคนที่ไม่ชอบขี้หน้า แต่พอถูกเกณฑ์ไปรบในสงครามเขาเหล่านั้นกลับขี่ขลาดกลัวความเป็นความตาย ตลกร้ายที่คนเราชอบแสดงความโอ้อวดข่มเหงคนอื่น ชูตัวเองเจ๋งจริงเื่อทำให้คนอื่นด้อยค่า แต่พอต้องไปรบจริงๆกลับกลัวขึ้นมาซะอย่างนั้น เราเข้าใจว่าทำไมคนอัฟกานิสถานถึงดูสิ้นหวังเพราะแวดล้อมมันไม่ดีขึ้นเลย กลุ่มคนตาลีบันเกิดขึ้นใหม่ได้ทุกวี่ทุกวัน และพร้อมจะถูกปลูกฝั่งความคิดทำร้ายผู้หญิง และคลั่งตาลีบันคิดทำร้ายคนอื่นที่เห็นต่างด้วยอาวุธปืนด้วยความรุนแรง เมื่อดูเรื่องนี้จบคุณจะเข้าใจอัฟกานิสถานมากขึ้นจริงๆ

เกร็ดจากหนังเรื่องนี้

  • นักแสดงที่พากย์เสียงในแอนิเมชั่นชุดนี้เป็นมุสลิมทั้งหมด เพื่อให้ได้สำเนียงคนอาหรับให้มากที่สุด
  • หนังดัดแปลงมาจากหนังสือ The Breadwinner ของ Deborah Ellis ที่เข้าไปสัมภาษณ์เด็กและผู้หญิงในอัฟกานิสถานช่วงปี 1999
  • Angelina Jolie เป็นโปรดิวเซอร์หนังเรื่องนี้