Thirteen Lives (2022)
13 ชีวิต
คะแนน
โกดังหนัง
หนังคุณภาพที่เชิดชูความกล้าหาญในการช่วยชีวิตของทีมหมูป่า องค์ประกอบทุกอย่างดีงามทุกอย่างทั้งบทหนังตัวละครโปรดักชั่น การเล่าเรื่องมันทรงพลังจากฉากแรกไปจนถึงฉากสุดท้าย
คำคมจากภาพยนตร์
"All this water pumping flooding fields praying to shrines it's bullshit Im.not having it."
"การสูบน้ำลงนา การสวดภาวนา แม่งเหลวไหลทั้งเพ ผมจะไม่ทนแล้วนะ"
เรื่องย่อ
นี่คือหนังที่น่าจะอยู่ในความสนใจของแฟนๆหนังชาวไทย โปรเจ็คยักษ์ที่สร้างจากเรื่องจริง ภารกิจช่วยชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าที่ถ้ำนางนอนจังหวัดเชียงราย เมื่อปี2018 นี่คือพล็อตหนังที่สตูดิโอมากมายหยิบมาทำเป็นหนัง ซีรีส์ เรื่อง3 ผ่านวิสัยทัศน์ของผู้กำกับดีกรีออสการ์อย่าง Ron Howard ที่ตีความออกมาได้สากล งานคุณภาพทั้งการแสดงของดาราไทยและดาราต่างชาติ การเล่าเรื่องที่ดึงอารมณ์ผู้ชมได้อยู่หมัดเป็นของดีที่ไม่ควรพลาด
หนังเรื่องนี้เหมาะกับใคร
สำหรับ Thirteen Lives เป็นหนังดราม่าที่เหมาะกับแฟนหนังสายรางวัล หรือกลุ่มคนที่ชอบหนังที่ดัดแปลงมาจากเรื่องจริง อาจมีหนังภารกิจช่วยชีวิตทีมหมูป่ามากมาย แต่นี่น่าจะเป็นการเล่าเรื่องในมุมมองการทำงานที่เข้าขั้นยุ่งยากไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยกับการพาคนออกมาจากถ้ำ บรรยากาศลุ้นกดดันจริงๆและเมื่อหนังอยู่ในมือ Ron Howard มีความเป็นไทยแต่มีกลิ่นอายความเป็น Hollywood สูงมาก
- สายหนังรางวัลคุณภาพ
- สายหนัง Ron Howard
- สายหนังดราม่า
รีวิว / สรุปเนื้อหา
ทุกคนๆคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าเรื่องจริงบทสรุปออกมาเป็นอย่างไร ภารกิจช่วยชีวิต 13 หมูป่าจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เมื่ออยู่ในมือของ Ron Howard งานมีความสากลพิถีพิถันในการเล่าเรื่อง ความจริงจังในการนำเสนอไม่ยืดเยื้อเลย หนังเปิดเรื่องแบบเข้าประเด็นตรงๆ ไม่มีปูเนื้อหาให้เสียเวลา เล่าที่มาที่ไป การทำภารกิจอุปสรรคที่เกิดขึ้นพาคนดูลุ้นเอาใจช่วย เหมือนพาเราไปอยู่ในเหตุการณ์จริง เพราะงานนี่หนักหนาสาหัสไม่ได้ง่าย บรรยากาศในหนังการดำเนินเรื่องจากเรื่องกลางเรื่องไปจนถึงช่วงท้าย ทำออกมาได้น่าประทับใจ ส่วนตัวแล้วชอบมาก เรื่องราวทุกอย่างดูแล้วไม่มีมุมไหนที่รู้สึกเบื่อ ที่สำคัญคือเนื้อหาไม่ไปซ้ำซากจำเจจากสารคดีหรือหนังเรื่องอื่นๆ
หนังเลือกจะเล่าในมุมการช่วยเหลือ การทำงานร่วมกันของนักประดาน้ำ และเจ้าหน้าที่คนไทย ที่แตกต่างในแง่ของภาษาวัฒนธรรม สุดท้ายก็ร่วมมือร่วมใจกัน ปราศจากความขัดแย้ง ที่สำคัญคือโทนเรื่องสามารถสอดรับความเป็นไทย มีภาษาไทย ภาษาท้องถิ่นชาวเหนือ ผู้กำกับทำงานได้เนี๊ยบเก็บทุกรายละเอียด ไม่ได้แค่โฟกัสแค่ตัวละครนักประดาน้ำ แต่รายละเอียดรอบนอกตัวละครสมบทบคนไทยก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน องค์ประกอบหนังไม่ได้ถ่ายทำที่เมืองไทย ไปออสเตรเลีย แต่ทำให้เชื่อได้ว่านี่คือภาคเหนือนี่คือเชียงราย แถมการวางเฟรมภาพคุณภาพไม่มีหลอกตาคนดู การตัดต่อภาพออกมาไหลลื่น ชอบซีนดำน้ำที่พาคนดูไปอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ ไหนจะเป็นการมิกซ์ซาวด์ที่บีบหัวใจผู้ชมอีกตั้งหาก
ในส่วนของนักแสดงนำหนังบาลานซ์คนไทยและต่างชาติได้ในจังหวะที่เหมาะมากๆ Virgo Mortensen และ Colin Farrell ที่นักวิจารณ์ต่างประเทศชื่นชอบ ก็พิสูจน์แล้วว่าพวกเขาตีความเป็นนักประดาน้ำได้สมบทบาท แทบลืมภาพเก่าๆของทั้งคู่ พวกเขาทำให้เชื่อแบบสนิทใจว่า ที่เห็นอย่ตรงหน้าคือนักดำน้ำช่วยชีวิตทีมหมูป่า ทั้งคู่ขับเคลื่อนหนัง และซัพพอร์ทนักแสดงสมทบที่ปะทะบทปะทะคารมกันได้ดี ไม่ว่าจะเป็น Joel Edgerton คุณหมอ Harris ชายที่คิดแผนพาเด็กออกมาจากถ้ำด้วยการฉีดยา, พี่ปู สหจักร ที่เรื่องนี้รับบทเป็นผู้ว่าณรงค์ศักดิ์ ถือว่าพลิกบทบาทเพราะปกติจะเห็นพี่เขาเล่นบทร้ายๆซะเป็นส่วนใหญ่, เจมส์ ธีรดนย์ ที่เรื่องนี้พูดภาษาเหนือ, พี่เวียร์ ศุกลวัฒน์ ที่ปรากฏตัวในบทจ่าแซม, พี่ตู๋ ภพธร ในบทคุณหมอที่ดูอบอุ่น, อั้ม ถิร ในลุคทหารเรือผู้เสียสละ หรือพี่ตุ้ย ธีรภัทร์ ผู้ชายหล่ออมตะที่มาในบททหารที่ดูดุดัน หรือคุณพลอย สาวเหนือในบทคุณแม่ที่รอคอยการกลับมาของลูกชาย ทุกคนสามารถผสมผสานการแสดงของตัวได้เข้ากับดาราระดับโลกจนภาพที่ออกมาดูเป็นธรรมชาติ
เกร็ดจากหนังเรื่องนี้
- หนังไปถ่ายทำกันที่เมือง Gold Coast ประเทศออสเตรเลีย
- หนังไม่ได้ถ่ายทำที่ประเทศไทย
- รัฐบาลออสเตรเลีย ออกทุนให้กว่า 290 ล้านบาท เพื่อเซ็ตฉากเป็นถ้ำหลวง นางนอน
- รัฐบาลออสเตรเลีย ลดหย่อนภาษีทำให้ Ron Howard ล้มแผนการถ่ายทำที่ประเทศไทย
- พี่เวียร์ ศกลวัฒน์ ไม่ได้คิดว่าจะเป็นจ่าสมาน กุนัน แต่พอมีใบอนุญาตดำน้ำ Ron Howard เลยให้บทนี้